น่าจับตามอง! Starbucks – Cafe Amazon ศึกชิงเจ้าตลาดกาแฟไทย

Starbucks – Cafe Amazon
ถ้าให้ลองนึกกันดูแบบเผินๆ ว่า ‘แบรนด์กาแฟ’ เจ้าไหนที่กินส่วนแบ่งของตลาดกาแฟในประเทศไทยเยอะที่สุด เชื่อว่าหลายคนต้องคิดถึง ‘Starbucks’ เป็นแน่ ยิ่งใครที่ติดตามข่าวก็น่าจะทราบว่าตอนนี้ สตาร์บัคส์ ก็ได้จับมือกับค่ายน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่าง ‘Esso’ เตรียมขยายตลาดเข้าไปเปิดให้บริการเสิร์ฟกาแฟกันถึงในปั๊มน้ำมันเลยทีเดียว โดยตามข่าวได้ระบุว่าจะเริ่มจาก 3 สาขาแรก คือที่ปั๊มน้ำมันเอสโซ่บางบัวทอง เพชรบุรี และกาญจนบุรี ถัดจากนั้นก็น่าจะขยายสาขาต่อไปยังสถานีอื่นๆ ของเอสโซ่ซึ่งมีอยู่อีกกว่า 500 แห่งทั่วประเทศ ฟังดูอนาคตสดใสสุดๆ
แต่ถ้าใครติดตามเรื่องราวให้ลึกลงไปกว่านั้นจะพบว่า
อันนี้ก็เนื่องมาจากการที่ Cafe Amazon เริ่มจะขยายสาขาหลายๆ แห่งไปยังที่อื่นๆ นอกเหนือจากปั๊มน้ำมัน ปตท. แถมทำแล้วยังรุ่งเสียด้วย เพราะปัจจัยด้าน ‘ราคา’ ที่ถูกกว่า แถมพอเอามาขึ้นห้างแล้วบรรยากาศการตกแต่งร้านก็เทียบชั้นได้กับ Starbucks เลยทีเดียว สรุปแล้วก็ต้องยอมรับว่า Cafe Amazon นั้นสามารถเข้าไปแย่งลูกค้าของ Starbucks มาได้พอสมควรเลยทีเดียว ดูได้จากยอดขายเฉพาะส่วนของสาขา ‘นอกปั๊ม’ ก็จะเห็นว่ามันดีขึ้นเรื่อยๆ และที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ ยอดขายในส่วนนี้ยังมีปริมาณกระจ้อยร่อยนักเมื่อเทียบกับยอดขายจากสาขาที่ตั้งอยู่ ‘ในปั๊ม’
งานนี้ ดูเหมือนว่า Starbucks จึงต้องพลิกยุทธศาสตร์ใหม่ โดยการรุกเข้าไปชิงส่วนแบ่งการตลาดที่เสียไปกลับคืนมา แต่คำถามมันอยู่ที่ว่า จะไหวรึเปล่า?
ทั้งนี้ ถ้าลองคาดการณ์ดูจากตัวเลขรายได้รวมต่อปี ตั้งแต่ปี 2557 เราจะพบว่า Starbucks มีรายได้ 3,985 ล้านบาท พอมาในปี 2558 มีรายได้รวม 4,998 ล้านบาท เท่ากับว่าเติบโต 25.42% มาในปี 2559 มีรายได้รวม 6,051 ล้านบาท เท่ากับว่าเติบโต 21.06% และในปี 2560 มีรายได้รวม 7,006 ล้านบาท เติบโต 15.78%แต่ในส่วนของ Cafe Amazon ต้องเรียกว่า ‘คนละชั้น’ ของจริง เริ่มจากรายได้ที่ 3,500 ในปี 2557 พอมาในปี 2558 มีรายได้รวม 5,400 ล้านบาท เท่ากับว่าเติบโต 54.29% มาในปี 2559 มีรายได้รวม 8,000 ล้านบาท เท่ากับว่าเติบโต 48.15% และในปี 2560 มีรายได้รวม 10,256 ล้านบาท เติบโต 28.2% ถึงแม้ช่วงหลังจะแผ่วๆ ลงหน่อยแต่ก็ยังมีตัวเลขที่ห่างกันอยู่หลายขุมนัก
นอกจากนี้ แผนระยะยาวของ ปตท. นั้น ก็มีความต้องการที่จะเพิ่มสถานีบริการน้ำมันให้มากขึ้น โดยแพลนไว้ที่ 2,560 แห่งภายในปี 2565 และ Cafe Amazon ก็จะเพิ่มตามไปด้วยมองกันเบาะๆ ที่ 4,000 แห่ง ภายในปี 2565 ทั้งในปั๊มน้ำมัน ตามศูนย์การค้า และร้านแบบ ‘Stand Alone’
และท้ายที่สุดนี้ คือการรุดขยายการลงทุนไปยังตลาดต่างประเทศในอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และล่าสุดคือที่สิงคโปร์
……….ดูเหมือนว่าเค้าจะ ‘ก้าวข้าม’ ตลาดกาแฟเมืองไทยไปไกลแล้วล่ะ