
Landing page
ก่อนจะทำให้หน้า Landing page ในเว็บไซต์ของคุณโดนใจลูกค้า และนำไปสู่การเพิ่มค่า Conversion ด้วยการที่กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนมาเป็นลูกค้าของคุณนั้น เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Conversion Rate กันก่อน
จากงานวิจัยของ WordStream ชี้ให้เห็นว่า Conversion Rate จะแตกต่างกันไปตามประเภทของกลุ่มสินค้าและการบริการในธุรกิจนั้น ๆ ซึ่งค่าเฉลี่ย ในการทำโฆษณา Adwords จะอยู่ระหว่าง 2-5% แต่ไม่ได้หมายความว่าเราควรยึดตามค่าเฉลี่ยดังกล่าว เพราะมีธุรกิจอีกมากมายที่สามารถทำค่า Conversion Rate ได้สูงกว่านี้
โดยผลการศึกษาของ WordStream ที่ทำไว้เมื่อปี 2014 พบว่านักโฆษณาตัวฉกาจสามารถเพิ่มค่า Conversion Rate ได้สูงถึง 10% หรือมากกว่านั้น และนี่คือเป้าหมายที่คุณก็สามารถทำได้กับหน้า Landing page ของคุณด้วยกลยุทธ์เหล่านี้

1. จูงใจด้วยข้อเสนอสุดคุ้ม

จากตัวอย่างจะเห็นว่าเว็บไซต์ Vitacost ทำออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม โดยยื่นข้อเสนอที่สามารถช่วยปิดดีลได้ทันที ด้วยการสร้างแรงจูงใจกระตุ้นให้ลูกค้าหน้าใหม่ตัดสินใจแบบไม่ลังเล เมื่อเข้าเว็บไซต์มาได้ 5 วินาที ก็มีข้อความป็อปอัพเด้งบนหน้าจอ เพื่อเสนอส่วนลด 10 % ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ไม่มีคู่แข่งเจ้าอื่นในตลาดเสนอได้
นอกจากนั้น หน้าเว็บไซต์ก็ยังดูสบายตา จัดวางองค์ประกอบได้ดี และมีข้อความที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่คุ้มค่าอย่างชัดเจนว่า “เซฟเงินได้มากถึง 37% สำหรับสินค้ากลุ่มอาหารออร์แกนิก” รวมถึงตอกย้ำจุดขายผลิตภัณฑ์ที่เฉพาะเจาะจง และมีรายละเอียดที่ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้น และสิ่งสำคัญที่สุด คือข้อเสนอหลักที่เสนอให้ลูกค้านั้นสามารถใช้ได้ทันที
2. จำกัดตัวเลือก

บ่อยครั้งที่ธุรกิจซอฟท์แวร์มักจะมีตัวเลือกข้อเสนอหลากหลาย แต่สำหรับ Wrike กลับจำกัดข้อเสนอให้มีเพียงตัวเลือกเดียว ในราคา 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน โดยเรียกเก็บเงินแบบรายปี และมีแผนให้ใช้บริการฟรี เพื่อให้ลูกค้าได้ทดลองด้วย ขณะที่หน้าเว็บถูกออกแบบให้มีข้อความไม่มากนัก แต่ออกแบบข้อเสนอได้ชัดเจนและตรงจุด
โดยกรณีนี้อาจจะต่างไปจากแนวทางที่แนะนำกันสำหรับการเก็บข้อมูลลูกค้าเป้าหมาย (Lead Gen) อยู่บ้าง แต่หน้า Landing Page ของ Wrike ถือว่าโดดเด่น จากการใช้ภาพขยาดใหญ่ดึงดูดสายตา และเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ผลิตภัณฑ์โดยอ้างถึง Gartner บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านไอทีชั้นนำของโลก (มุมขวาบน) รวมถึงมีรายชื่อลูกค้าระดับบิ๊กเนมมาใช้บริการผลิตภัณฑ์ โดยวางตำแหน่งไว้ด้านล่างของหน้าเว็บไซต์ ซึ่งทั้งสองแนวทางนี้คือแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการจัดการหน้า Landing Page
3. ส่วนให้บริการลูกค้าไม่กวนตา


การให้บริการ Live Chat ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในกรณีของ American Eagle เลือกที่จะเสนอบริการนี้ในรูปแบบที่กวนใจลูกค้าน้อยกว่าแบรนด์อื่น ๆ เพราะไม่มีอะไรที่สร้างความน่ารำคาญใจให้ลูกค้าได้มากไปกว่าข้อความ Pop – up ที่ค้างอยู่บนหน้าจอราวกับพนักงานขายของจอมตื้อ
โดย American Eagle เลือกที่จะโชว์ Pop – up สำหรับการ Live Chat เมื่อมีการค้นหาสินค้า เช่น ค้นหาคำว่า “กางเกงขาสั้นผู้ชาย” จะพบว่ามีกล่อง Live Chat อยู่ที่มีมุมขวาล่าง พร้อมให้บริการลูกค้าทันที ซึ่งการที่ต้องกรอกอีเมลไว้ด้วย ก็ช่วยให้แบรนด์สามารถเก็บข้อมูลลูกค้าได้นั่นเอง นอกจากนี้ American Eagle ก็ยังเลือกใช้ภาพโปรโมตด้านบนหน้าเว็บที่สวยงามเน้นมุมมองแนวกว้างด้วย ซึ่งถือเป็นการออกแบบหน้า Landing Page ที่ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่ง
4. ให้ทดลองใช้สินค้าและบริการ

กรณีหน้า Landing page ของ Webex ผู้ให้บริการซอฟท์แวร์สำหรับเว็บสัมมนาออนไลน์ เลือกใช้วิธีเรียกความสนใจลูกค้าด้วยการให้ทดลองใช้งานสินค้าจริงแบบ Test Drive นั่นเอง โดยยื่นข้อเสนอให้ สามารถเลือกสมัครแบบบุคคลหรือกลุ่ม เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์ ก่อนตัดสินใจสั่งซื้อ ซึ่งทำให้ผู้ที่สนใจจะซื้อ ได้เห็นภาพว่าพวกเขาจะนำซอฟต์แวร์ไปใช้งานได้อย่างไรบ้าง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้สามารถปิดการขายได้ แม้ว่าแบบฟอร์มของเว็บไซต์ที่ให้กรอกจะค่อนข้างยาวไปสักหน่อยก็ตาม
นอกจากนี้ Webex ยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์ โดยแสดงจำนวนการสัมมนาผ่านเว็บสัมมนาออนไลน์ที่บริษัทจัดจากเดือนที่ผ่านมาด้วย
5. โชว์ยอดสั่งซื้อแบบเรียลไทม์

Timberwolf Bay บริษัทเฟอร์นิเจอร์วินเทจ ใช้รูปแบบคล้ายกับ Webex ด้วยการอัพเดตโพสต์คำสั่งซื้อบนหน้าเว็บไซต์แบบเรียลไทม์ ซึ่งทำให้เห็นว่าลูกค้าอยู่ที่ไหน และสั่งซื้อสินค้าอะไร
วิธีการนี้จะช่วยสร้างมั่นใจและน่าเชื่อถือให้กับบริษัทได้ เพราะทำให้ลูกค้าได้เห็นว่ามีคนอื่น ๆ กำลังซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ และการที่เห็นคำสั่งซื้อ Pop – up เรื่อย ๆ ก็ดูเพลินด้วยเหมือนกัน
ส่วนตัวอย่างด้านล่าง เป็นกลยุทธ์ที่คล้ายคลึงกันจากร้าน Zingerman ซึ่งเป็นตลาดขายอาหารยอดนิยมแห่งหนึ่งในรัฐมิชิแกน เพียงแต่ย้ายมาใส่ไว้ด้านล่างของเว็บไซต์

6. ยิ่งเหลือน้อย ยิ่งใกล้หมดเวลา ยิ่งต้องรีบซื้อ

เป็นอีกครั้งที่ Timberwolf Bay ทำได้ดี ด้วยการกระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกอยากได้สินค้า โดยสร้างความรู้สึกว่าสินค้ากำลังจะหมดสต๊อก หรือขายหมดเกลี้ยงแล้ว หากคุณมองหาสินค้ากลุ่ม Automobiles ก็จะได้เห็นหน้าสต็อกสินค้าปัจจุบัน ซึ่งจากรูป ถ้าคุณกำลังอยากได้รถ BB Korn Race Car ก็ต้องรีบหน่อย เพราะ มีสต็อกเหลืออยู่ไม่มากแล้ว
การแจ้งจำนวนสินค้าในสต็อกแบบเรียลไทม์ สามารถกระตุ้นให้ผู้คนอยากซื้อสินค้าทันทีได้ และการทำให้ลูกค้าได้เห็นสินค้าว่าถูกจำหน่ายหมดไปแล้ว เป็นการบอกเป็นนัย ๆ ว่า บริษัทของคุณระบายสินค้าได้จำนวนมาก และผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์จะต้องรับตัดสินใจ เพราะสินค้ากำลังจะหมดแล้ว ซึ่งความรู้สึกขาดแคลนจะไปกระตุ้นให้คนซื้อสินค้าเพราะไม่ชอบความรู้สึกที่ตัตนเองกำลังจะพลาดอะไรบางอย่างไป
การใช้กลยุทธ์นี้ควรคำนึงถึงความเร่งด่วนด้วย เมื่อเรารู้ว่าการลดราคากำลังจะสิ้นสุดลง เราจะยิ่งรู้สึกว่าน่าจะซื้อไว้ดีกว่ารอต่อไป ซึ่งตัวอย่างด้านล่าง แบรนด์ Glit ใช้วิธีการนี้ได้ดีด้วยการเคาต์ดาวน์เวลาให้รู้ว่าช่วงลดราคาจะสิ้นสุดลงในไม่ช้า จึงต้องรีบตัดสินใจให้เร็วขึ้น

7. ทำให้เห็นคุณค่าในตัวสินค้า

ทุกคนล้วนชอบข้อเสนอดี ๆ กันทั้งนั้น ซึ่งเว็บ Eastbay ตอบโจทย์นี้ได้ดีด้วยการเน้นให้เห็นว่ามีการหั่นราคารองเท้า Kobe shoes พร้อมเสนอราคาใหม่ที่ถูกลง ในทางกลับกัน ถ้า Eastbay ทำเพียงแปะป้ายแจ้งราคาใหม่ ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ก็คงไม่มีใครสังเกตหรือให้ความสนใจสินค้านี้
แต่ด้วยวิธีการนี้ของ Eastbay จะทำให้ลูกค้าคิดว่ามีข้อเสนอดี ๆ ที่ต้องรีบคว้าไว้ หรืออย่างน้อยก็อาจจะบเก็บหน้าเว็บนี้ไว้เพื่อกลับมาซื้อหลังจากทำการเปรียบเทียบกับเจ้าอื่นแล้ว และ Eastbay ก็ยังย้ำเรื่องบริการจัดส่งฟรีให้เห็นอย่างชัดเจนบริเวณส่วนบนของเว็บด้วย จึงยิ่งเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้เยี่ยมชมตัดสินใจซื้อสินค้าจากหน้า Landing Page มากขึ้น
ที่มา: wordstream